เมนู

ตถาคตัสส อเภชชปริสปัญหา ที่ 8


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้ากล่าวกับโยมว่า ตถาคโต สมเด็จพระตถาคตทศพลญาณเจ้า
อเภชฺชปริโส มีบริษัทมิได้แตก ว่ากับโยมกระนี้แล้ว ปุน จ ครั้นต่อมาเล่าพระผู้เป็นเจ้ากล่าว
อีกว่าพระเทวทัตทำลายพระภิกษุห้าร้อยให้แตกแล้วพร้อมกันขณะเดียว นี่แหละคำทั้งสอง
ไม่ต้องกัน ครั้นจะเชื่อเดิมว่า พระตถาคตทศพลญาณเจ้ามีหมู่บริษัทมิได้แตก คำที่ว่าภิกษุ
ทั้งหลายห้าร้อย พระเทวทัตทำลายให้แตกแล้วคราวเดียวกันนั้น ก็ผิดเป็นมิจฉา ถ้าจะเชื่อเอาคำที่
ว่าพระเทวทัตทำลายภิกษุห้าร้อยให้แตกแล้วพร้อมกันนั้น คำที่ว่า พระสัพพัญญูมีหมู่บริษัทไม่
รู้แตก ก็จะผิดเป็นมิจฉา ตกว่าคำทั้งสองไม่ต้องกัน อยํ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ อุภโต โกฏิโก
เป็นอุภโตโกฏิ คณฺฑิโก ฟั่นเฝือ คณฺฑิกตโร เหลือที่จะฟั่นเฝือ โส ปญฺโห ปริศนานี้ ตฺวา-
นุปฺปตฺโต
มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว อนึ่งเล่า ปัญหานี้เป็นที่เดียรถีย์ถือปรับปวาท จะข่มขี่เป็นราคี
เข้ามา อนึ่งปัญหานี้ อาวุโต ร้อยทั่วไปร้อยตลอดไป โอถฺโน หุ้มห่อครอบงำทำให้สงสัยเคลือบ
แคลง ทสฺเสหิ พระผู้เป็นเจ้าจงสำแดงซึ่งกำลังปัญญาพระผู้เป็นเจ้ามิให้ปรับปวาทอาจเข้ามา
ครหาติเตียนได้ ในกาลบัดนี้
พระนาคเสนผู้ประเสริฐสงฆ์อรหันต์อันทรงญาณปฏิสัมภิทาจึงมีอริยาวาจาวิสัชนาว่า
มหาราช ขอถวายพระพร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์ญาณสัพพัญญูผู้พิเศษเป็นอเภชช-
บริษัท มิได้มีบริษัทแตก แต่พระภิกษุทั้งห้าร้อย พระเทวทัตทำลายให้แตกแล้วพร้อมกันคราว
เดียวได้ บพิตรสงสัยว่าพระมหากรุณาเจ้ามีบริษัทมิได้แตก แต่ไฉนพระเทวทัตจึงทำลายภิกษุ
ห้าร้อยของพระมหากรุณา ให้แตกแล้วพร้อมกันขณะเดียวได้ บพิตรสงสัยกระนี้จะเป็นไรมี จะ
วิสัชนาให้หายคลายจากสงสัย ซึ่งพระเทวทัตทำลายบริษัทนั้น จะว่าบริษัทนั้นไม่แตกกระไรได้
จำต้องแตก เพราะเมื่อเหตุเครื่องทำลายให้แตกมีอยู่ แม้มารดาต้องแตกจากบุตร บุตรก็ต้อง
แตกจากมารดา บิดากับบุตรและพี่ชายกับน้องหญิง พี่หญิงกับน้องชาย สหายกับสหายก็ต้อง
แตกจากกัน เรือที่เขาขนานติดต่อกันไว้ด้วยไม้ทั้งหลาย ครั้นถูกคลื่นระลอกซัดเข้า ก็ยังแตก
จากกันได้ รุกฺโข รุกขชาติมีดอกออกผลดกนักหนา มีโอชารสหวานอร่อยล้น ก็ยังแปรปรวน
วิการวิกลกลับกลายแตกออกจากรสเดิมไปด้วยบอระเพ็ด สะเดาขมเข้าพัวพันเกี่ยวข้อง
สุวณฺณํ ชาตรูปํ เงินทองย่อมหม่นหมองผิดสี เป็นราศีกลับกลายทำลายไปจากธรรมชาติเดิม
เพราะระคนปนกับโลหะ มหาราช ขอถวายพระพร เมื่อมีเหตุเข้าประการแล้ว สิ่งทั้งหลาย
ย่อมจะแตกทำลายจากกันได้ดังนี้ อันคำว่าพระตถาคตเจ้ามีบริษัทมิได้แตกนี้ เนโส อธิปฺปาโย
ิวิญฺญูนํ จะเป็นที่ประสงค์แห่งท่านผู้ทรงปัญญาเป็นนักปราชญ์นั้นหามิได้ เนโส พุทฺธานํ

อธิมฺตฺติ จะได้ถูกพระอัธยาศัยแห่งสมเด็จพระพุทธเจ้านั้นก็หามิได้ เนโส ปณฺฑิตานํ ฉนฺโท
จะเป็นที่ชอบเนื้อเจริญใตแห่งบัณฑิตชาตินักปราชญ์ทั้งหลายนั้นก็หามิได้ ด้วยเหตุว่าเป็นถ้อยคำ
ไม่ตรงกับพระธรรมเทศนา ที่พระตถาคตเจ้าตรัสไว้ในพระไตรลักษณ์ว่า ธรรมชาติทั้งปวง เป็น
ภินทนธรรมมีสภาวะจะแตกจะทำลายหมดสิ้นทั้งนั้น ตตฺถ การณํ อตฺถิ แต่ที่ว่าบริษัทของ
พระตถาคตไม่รู้แตกไม่รู้ทำลายนั้น เป็นเพราะมีเหตุที่พระองค์ทรงประพฤติสังคหวัตถุธรรมทั้ง
4 ประการบริบูรณ์เต็มที่ ไม่ทรงประพฤติธรรมอันเป็นข้าศึกแก่สังคหวัตถุทั้ง 4 นั้นเลย
มหาบพิตรเคยทรงสดับบ้างหรือไม่ว่า ยโต กุโตปิ แต่ไหนแต่ไรมา พระตถาคตเจ้าทรงหยิบ
ฉวยถือเอาของที่เขามิได้ให้ หรือตรัสปราศรัยพระวาจาอันไม่น่ารัก เป็นเครื่องชักให้บาดหู
และสมเด็จพระบรมครูประพฤติสิ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น วางพระองค์ไว้ในฐานไม่
สม่ำเสมอ เป็นคนประพฤติลำเอียงไม่เที่ยงธรรมด้วยอำนาจอคติดังนี้ อาตมามิได้เคยสดับเลย
เตน วุจฺจติ ตถาคโต อเภชฺชปริโส เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์ทั้งหลาย จึงกล่าวสรรเสริญพระ
องค์ว่า พระตถาคตเป็นผู้มีบริษัทไม่รู้แตกไม่รู้ทำลายดังนี้ ตยา เจตํ มหาราช ดูรานะบพิตร
พระราชสมภารผู้ประเสริฐ มหาบพิตรเคยได้ยินได้ฟังได้ทรงทราบบ้างหรือว่า ในพระพุทธพจน์
อันประกอบด้วยองค์ 9 ประการ คัมภีร์ใด นิกายใด สูตรใด มีบ้างหรือว่า บริษัทของพระ
ตถาคตแตกทำลายออกไปด้วยเหตุนี้ ๆ ที่พระองค์ทรงกระทำไว้ ในเวลาที่ยังเสวยพระชาติ
เป็นพระโพธิสัตว์ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา ความข้อนี้จะได้มีในโลกหามิได้ โยมก็ยังไม่ได้ฟัง พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามานี้
ไพเราะเพราะนักหนา สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับเอาถ้อยคำจำไว้ในกาลบัดนี้
ตถาคตัสส อเภชชปริสปัญหา คำรบ 8 จบเพียงนี้

อชานันตัสส ปาปกรณอปุญญปัญหา ที่ 9


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการถามอรรถปัญหาอื่นเล่าว่า
ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้าว่าไว้กับโยมแต่ก่อนนั้นว่า
โย ปุคฺคโล บุคคลจำพวกใดไม่รู้จักบาปกรรม และกระทำบาปกรรมมีปาณาติบาต เป็นต้นได้บาป
มาก แล้วกลับว่าสมเด็จพระผู้ทรงสวัสดิภาคมีพระพุทธฎีกาตรัสไว้ในวินัยบัญญัติว่า พระ